...

พ.ศ. 2503 ทรงพยายามปกปักยางนา ในฤดูร้อนเกือบทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จแปรพระราชฐาน ไปประทับแรม ณ วังไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในระยะแรกเสด็จ พระราชดำเนินโดยรถไฟ ต่อมาเสด็จฯ โดยรถยนต์ เมื่อเสด็จฯ ผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี สองข้างทางมีต้นยางขนาดใหญ่ขึ้นอยู่มาก ทรงมีพระราชดำริที่จะ สงวนป่าต้นยางนี้ไว้เป็นสวนสาธารณะ ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ แต่ไม่ สามารถจัดถวายได้ตามพระราชประสงค์ เพราะมีราษฎรเข้ามาทำไร่ทำสวนใน บริเวณนั้นมาก จะต้องจ่ายเงินทดแทนในการหาที่ใหม่ในอัตราที่ไม่สามารถจัดได้

พ.ศ. 2504 ป่าสาธิตทดลอง เมื่อไม่สามารถดำเนินการปกปักต้นยางนาที่อำเภอท่ายางได้ จึงทรง ทดลองปลูกต้นยางเอง โดยทรงเพาะเมล็ดยางที่เก็บจากต้นยางนาในเขตอำเภอ ท่ายาง ในกระถางบนพระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล หัวหิน และทรงปลูกต้น ยางนาเหล่านั้นในแปลงทดลองใกล้พระตำหนักเรือนต้น สวนจิตรลดา พร้อมข้าราช- บริพาร เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2504 จำนวน 1,250 ต้นแม้ต้นยางที่ท่ายางสูญสิ้น แต่พันธุกรรมของยางนาเหล่านั้นยังอนุรักษ์ ไว้ได้ที่สวนจิตรลดา ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพรรณไม้จากภาคต่างๆ ทั่ว ประเทศ มาปลูกในบริเวณที่ประทับ สวนจิตรลดา เพื่อให้เป็นที่ศึกษาพรรณไม้ ของนิสิตนักศึกษาแทนที่จะต้องเดินทางไปทั่วประเทศ

พ.ศ. 2528 ทรงใช้เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออนุรักษ์พืช ในวันพืชมงคล วันที่ 9 พฤษภาคม 2528 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราช ดำเนินไปทรงเปิดอาคารห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชที่โครงการส่วน พระองค์ฯ สวนจิตรลดา และทรงมีพระราชกระแสให้อนุรักษ์ต้นขนุนหลังพระตำหนัก ไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง

ความสำเร็จของการใช้วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชขยายพันธุ์ขนุนไพศาล ทักษิณ นำไปสู่การขยายพันธุ์ต้นไม้ที่มีลักษณะพิเศษ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของ พระราชวังต่างๆ แล้วอนุรักษ์พันธุ์ไม้อีกหลายชนิด ได้แก่พุดสวน มณฑา ยี่หุบ ที่อยู่ในพระบรมมหาราชวัง และสมอไทยในพระที่นั่งอัมพรสถานมงคล ในขณะเดียวกันก็ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาพันธุกรรมของพืชเอกลักษณ์ใน สภาวะปลอดเชื้อในอุณหภูมิต่ำ เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต จนทำให้เก็บรักษาเนื้อเยื่อขนุนที่อุณหภูมิ –196 องศาเซลเซียส ในไนโตรเจนเหลว มีเนื้อเยื่อขนุนที่รอดชีวิตอยู่ได้ 23 เปอร์เซ็นต์

พ.ศ. 2529 ทรงให้อนุรักษ์พันธุกรรมหวาย

ทรงมีพระราชดำริให้อนุรักษ์และขยายพันธุ์หวายชนิดต่างๆ โดยการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อเตรียมการแก้ปัญหาการขาดแคลนหวายในอนาคต หวายที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและเป็นเป้าหมาย คือหวายข้อดำ หวายน้ำผึ้ง หวายตะค้าทอง หวายหอม หวายแดง หวายโป่ง หวายกำพวน หวายงวย และหวายขี้เสี้ยน เมื่อขยายพันธุ์ได้ต้นที่สมบูรณ์ของหวายข้อดำและหวาย ตะค้าทองแล้ว ก็ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ทำการทดลองปลูกต้นหวาย เหล่านั้นในป่ายางนาใกล้พระตำหนักเรือนต้น สวนจิตรลดา และมีพระราชดำริให้ ทดลองปลูกที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์ศึกษา การพัฒนาภูพานฯ จังหวัดสกลนครอีกด้วย

เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๕ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริกับนายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวังและผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา ให้อนุรักษ์พืชพรรณของประเทศและดำเนินการเป็นธนาคารพืชพรรณ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้เริ่มดำเนินการ โดยฝ่ายวิชาการโครงการส่วนพระองค์ฯ สำหรับงบประมาณดำเนินงานนั้นสำนักงานคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้สนับสนุนให้กับโครงการส่วนพระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โดยจัดสร้างธนาคารพืชพรรณขึ้นในปี ๒๕๓๖ สำหรับเก็บรักษาพันธุกรรมพืชที่เป็นเมล็ดและเนื้อเยื่อ และสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานทุกกิจกรรมของโครงการ พ.ศ ๒๕๓๖ จนถึงปัจจุบัน ทรงมีพระราชปรารภพระราชดำริ และพระราชทานแนวทางการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชกับนายพิศิษฐ์ วรอุไร และนายพรชัย จุฑามาศ ในพระราชวโรกาสต่างๆ สรุปดังนี้

วันที่ ๘ กุมภาพันธุ์ ๒๕๓๖ ณ อาคารที่ประทับ ในสำนักงานชลประทาน เขต ๑ ถนนทุ่งโฮเต็ล จังหวัดเชียงใหม่

- ทรงมีพระราชปรารภถึงการเสด็จพระราชดำเนินผ่านไปทางจังหวัดนนทบุรี ทรงเห็นมีพันธุ์ไม้เก่าๆ อยู่มาก เช่น ทุเรียนบางพันธุ์อาจยังคงมีลักษณะดีอยู่แต่สวนเหล่านี้จะเปลี่ยนสภาพไปจึงทรงห่วงว่าพันธุ์ไม้เหล่านั้นจะหมดไป

- พระราชทานแนวทางการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ควรอนุรักษ์พันธุ์ที่ไม่ใช่พืชเศรษฐกิจไว้ด้วย

- ตามเกาะต่างๆ มีพืชพรรณอยู่มาก แต่ยังไม่มีผู้สนใจเท่าไร จึงน่าจะมีการสำรวจพืชพรรณตามเกาะด้วย

- พระราชทานแนวทางการสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ควรใช้วิธีการปลูก ฝังให้เด็กเห็นความงดงาม ความน่าสนใจของพืชพรรณ และเกิดความปิติที่จะทำการศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป การใช้วิธีการสอนการอบรมที่ให้เกิดความรู้สึกกลัวว่าหากไม่อนุรักษ์แล้วจะเกิดผลเสียเกิด อันตรายแก่ตนเอง จะทำให้เด็กเกิดความเครียด ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อประเทศในระยะยาว

- ทรงมีพระราชดำริให้ทำศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช โดยมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถแสดงลักษณะของพืชออกมาเป็นภาพสีได้ เพื่อสะดวกในการอ้างอิงค้นคว้า

วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๘ ณ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ตาก จังหวัดตาก - พระราชทานแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน - การนำต้นไม้มาปลูกเพิ่มเติมให้เด็กรู้จักนั้น ต้องไม่มีพืชเสพติด - ควรให้เด็กหัดเขียนตำรา จากสิ่งที่เรียนรู้จากสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน - ควรนำตัวอย่าง ดิน หิน แร่ มาแสดงไว้ในห้องพิพิธภัณฑ์พืชด้วย เพราะในจังหวัดตากมีหินแร่อยู่มากชนิด วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๓๙ ณ เขาเสวยกะปิ ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อำเภอ ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี - ทรงให้อนุรักษ์ต้นหว้าใหญ่ในบริเวณวังไกลกังวล หัวหิน ซึ่งเข้าใจว่าจะเป็นต้นหว้าที่ขึ้นอยู่ที่นั่นก่อนก่อสร้างวัง - ทรงให้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ดำเนินการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชที่เกาะละวะ จังหวัดพังงา - ทรงให้ทำการสำรวจขึ้นทะเบียนรหัสต้นพืชที่ขึ้นอยู่เดิม ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ - ทรงให้วัดพิกัดตำแหน่งของต้นพืชที่ขึ้นทะเบียนไว้ - ทรงให้รวบรวมพันธุกรรมหวายชนิดต่างๆ - ทรงให้มีการปลูกรักษาพันธุกรรมพืชไว้ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๐ ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร - ทรงให้หาวิธีดำเนินการให้มีข้อมูลที่จะได้รู้ว่าใครทำอะไรเกี่ยวกับพันธุกรรมพืชของหน่วยงานต่างๆให้สื่อถึงกันในระบบเดียวกันได้ - ทรงให้หาวิธีการที่จะทำให้เด็กสนใจในพืชพรรณต่างๆ และเกิดความสงสัยตั้งคำถามตนเองเกี่ยวกับพืชพรรณที่ตนสนใจนั้นซึ่งจะนำไปสู่การศึกษาทดลองค้นคว้าวิจัยอย่างง่ายๆ ที่โรงเรียนที่ไม่มีห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ดีนัก ก็สามารถดำเนินการได้ หากอาจารย์ในโรงเรียนต่างๆ ทำได้ดังนี้ ก็จะช่วยให้เด็กเป็นคนฉลาด

พระราโชวาทวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๐ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร

พระราชทานพระราโชวาทให้คณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการบริหาร ผู้ร่วมสนองพระราชดำริ และผู้ทูลเกล้าฯ ถวาย ที่เฝ้าทูลละอองพระบาทในการประชุมประจำปีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ "ข้าพเจ้ายินดีและขอบคุณทุกคนที่เข้ามาประชุมกันพร้อมหน้าในวันนี้ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ นี้ได้ดำเนินการมาเป็นเวลาถึง ๕ ปี แล้วและคิดกันว่าจะทำต่อในช่วงที่สองอีก ๕ ปี และคิดมาใหม่ว่าในขั้นที่สองนี้จะทำในลักษณะไหน ที่จริงในเบื้องต้นนั้นข้าพเจ้าก็มิได้เป็นนักพฤกษศาสตร์หรือศึกษาทางนี้มาโดยตรง ถึงแม้ศึกษาตอนนี้ก็คงจะสายไปเสียแล้ว เพราะว่าขณะนี้ไม่สามารถจำชื่อคนสัตว์ สิ่งของได้มากเท่าที่ควร แต่ว่าเหตุที่สนใจพืชพรรณและทรัพยากรของประเทศเรามานานแล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางพืช เหตุผลที่ศึกษา เพราะถือว่าง่ายต่อการศึกษามากกว่าอย่างอื่น เวลาไปไหนทีมีคนตามกันเยอะแยะ ถ้าจะศึกษาสัตว์สัตว์ก็วิ่งหนีหมด แต่พืชนั้นเขาอยู่ให้ศึกษาได้ พอศึกษาไปสักพักก็เกิดความสนใจว่า นอกจากทางกรมป่าไม้ซึ่งได้ติดต่อกันในครั้งแรกในเบื้องต้นเพราะว่าชอบไปท่องเที่ยวในที่ต่างๆ ตามป่าเขาดูว่าเมืองไทยมีสภาพภูมิประเทศ ภูมิศาสตร์อย่างไรและก็ได้ศึกษาเรื่องต้นไม้ต่างๆ ตามที่กล่าวมาแล้วนี้ก็ยังเห็นว่ามีหน่วยงานทั้งหน่วยงานของรัฐของเอกชน ทั้งเป็นหน่วยงานราชการ เช่น กรมป่าไม้ กรมวิชาการเกษตร และกับทั้งที่เป็นสถาบันการศึกษาที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องของพืชศึกษาว่าพืชกี่ชนิดทั้งเรื่องของพืชชนิดต่างๆ เรื่องงานอนุกรมวิธาน อย่างนี้เป็นต้น ก็ศึกษากันหลายแห่งจึงเกิดความคิดขึ้นมาว่าน่าจะมีการการรวบรวมว่าแต่ละสถาบันได้ทำงานในส่วนของตนอย่างไร และงานนั้นอย่างเช่น ยกตัวอย่างเช่นพืช ก็ได้ศึกษาในส่วนที่แต่ละแห่งได้รวบรวมนั้น ชื่อต่างหรือซ้ำกันอย่างไร เพื่อที่จะให้รวมกันว่าทั้งประเทศนั้นเรามีอะไรบ้าง ที่จริงแล้วงานที่จะศึกษาพืชหลายชนิดนี้เป็นเรื่องที่ทำได้ยากและทำได้ช้า คนๆ เดียวหรือว่าสถาบันๆ เดียวนั้นจะครอบคลุมไม่ได้ทั้งหมดถ้ามีหลายๆ หน่วยงานช่วยกันครอบคลุมก็อาจจะได้มาก ถ้าต่างคนต่างไม่รู้กันนั้นก็อาจจะเกิดเป็นที่น่าเสียดายว่าจะไม่ได้ข้อมูลเต็มที่ จึงนึกถึงว่าอยากจะทำฐานข้อมูลที่นักวิชาการทุกคนจะใช้ในการค้นคว้าได้ด้วยกัน ที่วังนี้ซึ่งก็มีความรู้สึกว่า ๑ ตารางกิโลเมตรของวังนี้ก็ใหญ่โตพอสมควร แต่ว่าที่จริงแล้วถ้าจะเอางานทุกสิ่งทุกอย่างมาสุมกัน ก็ย่อมจะไม่พอพื้นที่ไม่ได้ก็ต้องทำงานอะไรที่จะประหยัดที่ที่สุดในตอนนั้นก็เลยคิดว่าทำฐานข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้การเรียกชื่อพืชที่ทุกคนจะเข้าถึงได้จึงพัฒนาจากจุดนั้นมาเป็นงานต่างๆ ที่ ดร.พิศิษฐ์ ได้กล่าวถึงเมื่อสักครู่นี้ออกไปหลายๆ อย่าง ซึ่งงานที่กล่าวถึงนี้ก็เป็นงานที่หน่วยราชการต่างๆ ได้ทำมาแล้วเป็นจำนวนมากและหลังจากโครงการฯ นี้ก็มีการตั้งขึ้นใหม่ เพราะฉะนั้นก็ยังคิดว่าถ้ามีการได้ประชุมกันพร้อมกันอย่างนี้ จะได้มาตกลงกันแน่นอนว่าใครทำอะไรและในส่วนที่เหลือกัน ถ้าซ้ำกันโดยไม่จำเป็นก็อาจจะตกลงกันได้ว่าแบ่งกันว่าอันนี้งานนี้ใครจะทำ หรืองานที่โครงการทางด้านสำนักพระราชวังเคยทำอยู่ แต่ว่าเมื่อมีหน่วยงานที่มีชื่อของหน่วยงานที่ควรจะรับผิดชอบโดยตรงรับไปทำแล้วทางสำนักพระราชวังก็คิดว่าน่าจะตัดได้ในส่วนนั้นและก็หันมาทำงานทางด้านการประสานงานหรือความร่วมมืออย่างนี้เป็นต้น ซึ่งเข้าใจว่าก็เป็นการสมสมัยในปัจจุบันซึ่งประเทศค่อนข้างจะฝืดเคือง เพราะฉะนั้นทำงานอะไรถึงแม้จะเป็นงานที่ดีถ้าตกลงกันได้แล้วก็จะเป็นการประหยัดพลังคนหรือพลังเงินงบประมาณ ที่ว่าให้ในส่วนนี้แล้วก็จะได้จำเป็นจะไม่ต้องให้ในหน่วยงานอื่น หรือถ้าให้หน่วยงานอื่นก็ต้องให้ทำไป และงานนี้เราอาจจะต้องมานั่งพิจารณาคิดดูว่าจะทำงานได้โดยประหยัดอย่างไร บางส่วนที่อาจจะยังไม่จำเป็นในขั้นนี้หรือว่าทำได้ไม่ต้องเน้นเรื่องความหรูหราหรือความสวยงามมากนัก เอาเฉพาะที่ใช้จริงๆ และก็ประหยัดไปได้เป็นบางส่วนก็ดี ส่วนสำหรับเรื่องของโรงเรียนนั้น ก็ได้มีประสบการณ์ในการที่ไปเยี่ยมโรงเรียนในภาคต่างๆ มาหลายแห่ง ก็เห็นว่าเรื่องที่จะสอนให้นักเรียนหรือให้เด็กมีความรู้ และมีความรักในทรัพยากร คือ ความรักชาติรักแผ่นดินนี้ ก็คือรักสิ่งที่เป็นสมบัติของตัวเขาการที่จะให้เขารักษาประเทศชาติ หรือรักษาสมบัติของเขานั้น ทำได้โดยก่อให้เกิดความรัก ความเข้าใจ ถ้าใครไม่รู้จักกันเราก็ไม่มีความสัมพันธ์ ไม่มีความผูกพันธ์ต่อกัน แต่ว่าถ้าให้เขารู้จักว่าสิ่งนั้นคืออะไร หรือว่าทำงานก็จะรู้สึกชื่นชม และรักหวงแหนในสิ่งนั้นว่าเป็นของตน และจะทำให้เกิดประโยชน์ได้ เคยได้แนะนำโรงเรียนต่างๆ ที่ได้ไปเยี่ยม ไม่เฉพาะแต่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการๆ นี้ โรงเรียนทั่วๆ ไปด้วยว่าเรื่องของนอกจากพืชพรรณแล้ว สิ่งที่มีในธรรมชาติ สิ่งที่หาได้ง่ายๆ นั้นก็อาจจะเป็นอุปกรณ์การสอนในวิชาต่างๆ ได้หลายอย่างแม้แต่วิชาศิลปะก็ให้มาวาดรูปต้นไม้ ก็ไม่ต้องหาของอื่นให้เป็นตัวแบบ หรือในเรื่องภาษาไทยการเรียงความก็อาจจะทำให้เรื่องของการเขียนรายงาน ทำให้หัดเขียนหนังสือ หรืออาจแต่งคำประพันธ์ในเรื่องของพืชเหล่านี้ หรือเป็นตัวอย่างงานศึกษางานวิทยาศาสตร์และวิชาอื่นๆ ดังที่ ดร.พิศิษฐ์ ได้กล่าวมา นอกจากนั้นในวิชาพฤกษศาสตร์โดยเฉพาะ ซึ่งอาจจะช่วยได้ในที่นี้ยังไม่เคยกล่าว คือเรื่องของวิชาการท้องถิ่นซึ่งก็เป็นนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการอยู่แล้วที่ว่าจะให้นักเรียนได้ศึกษาความรู้ท้องถิ่นนอกจากความรู้ที่เป็นมาตรฐานจากส่วนกลางมาแล้ว แม้แต่ตำราก็มีการส่งเสริมให้ครู อาจารย์ ในท้องถิ่นนั้นได้รวบรวมความรู้หรือได้แต่งขึ้นในระยะนี้ ซึ่งเท่าที่ได้เห็นมาก็มีการศึกษาวิชาการทางด้านศิลปะวัฒนธรรม อาชีพท้องถิ่นมาบ้าง แต่ในด้านของธรรมชาตินั้นยังมีค่อนข้างน้อย เท่าที่ไปแนะนำมาในเรื่องของการอนุรักษ์ทรัพยากรนั้นได้เสนอว่าไม่ใช่เป็นเฉพาะที่ว่าจะให้เด็กนักเรียนปลูกป่าหรือว่าให้อนุรักษ์ดินปลูกหญ้าแฝกอย่างเดียว ก็พยายามจะให้ออกไปดูข้างๆ โรงเรียนว่าที่นั่นมีอะไรอยู่ และต้นไม้นั้นชื่ออะไร เป็นอะไร และพอดีมีประสบการณ์จากการที่ได้เคยออกไปส่งเสริมในเรื่องของโภชนาการงานในระยะแรกๆ ที่เริ่มทำงานเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ ในช่วงนั้นออกไปทำงานก็ทำงานอย่างค่อนข้างจะเบี้ยน้อยหอยน้อย คือเงินไม่ค่อยมีต้องออกเอง ก็ไม่มีเงินที่จะส่งเสริมเรื่องเมล็ดพันธุ์ผักหรืออุปกรณ์ที่ใช้มากนัก ได้ครบทุกแห่งที่ไปก็ให้ใช้พืชผักในท้องถิ่นที่พอจะมีอยู่ ผักพื้นบ้านผักพื้นเมืองหรือของที่เขากินอยู่แล้วเสริมเข้าไปในมื้ออาหารนั้นด้วย เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าศึกษาเพราะได้พบว่ามีพืชพรรณหลายอย่าง ซึ่งก็ยังไม่เป็นที่รู้จักกันในส่วนกลาง ในท้องถิ่นนั้นเขาก็รู้และก็มีชื่อพื้นเมือง แต่ว่าพอเอาเข้าจริง แม้แต่ชื่อวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่มีใครแน่ใจว่าชื่ออะไร ก็นำมาศึกษา และเวลานี้ก็ได้เห็นว่ามีการศึกษาอย่างกว้างขวาง คือได้ศึกษาว่าคุณค่าทางอาหารของผักพื้นเมืองเหล่านั้นมีอะไรบ้าง และได้มีการวิเคราะห์พิษภัยของพืชเหล่านั้นไว้ด้วยเดิมเท่าที่คิดก็ยอมรับว่าไม่ได้คิดเรื่องพิษภัย เพราะเห็นว่าคนรับประทานกันอยู่ประจำยังมีอายุยืนอยู่ แต่เห็นว่าจากการวิจัยของนักวิชาการ ก็ได้ทราบว่ามีพืชพื้นบ้านบางอย่างที่รับประทานกันอยู่ซึ่งมีพิษบ้าง ทำให้เป็นข้อคิดที่ว่าถ้าบริโภคกันในส่วนที่เป็นท้องถิ่นก็อาจจะไม่เป็นพิษภัยมากเพราะว่าในวันนั้นเก็บผักชนิดนี้ได้ก็นำมาบริโภคอีกวันก็เก็บได้อีกอย่างก็นำมาบริโภค แต่ถ้าสมมุติว่าเป็นการส่งเสริมเป็นโครงการขึ้นมา แล้วก็จะมีการขยายพันธุ์เป็นจำนวนมาก และก็รับประทานอย่างนี้ซ้ำๆ ซากๆ ซึ่งจะมีอันตรายต่อร่างกายเป็นอย่างยิ่งก็อาจจะเป็นได้ อันนี้ที่ยกตัวอย่างแสดงว่าวิชาการนี้แตกแขนงไปหลายอย่าง และมีการศึกษาได้หลายอย่าง และก็มีบุคคลหลายคนที่ช่วยกันคิดช่วยกันทำถ้าจะช่วยกันจริงๆ นี้ก็อาจจะต้องแบ่งหน้าที่ถึงขั้นตอนนี้ก็คงต้องแบ่งหน้าที่กันเพื่อที่จะแบ่งในด้านปริมาณงานที่ทำหรืองบประมาณที่ทำก็ได้รับการสั่งสอนจากผู้หลักผู้ใหญ่อยู่เสมอว่าถ้าคนเรามีความคิดพุ่งแล่นอะไรต่างๆ นานา ก็คิดได้แต่ถึงตอนทำจริงมีขั้นตอนเหมือนกัน การใช้คนให้ทำอะไรนี่ก็ต้องคิดถึงกระบวนการว่าจะไปถึงเป้าหมายที่เราต้องการนั้นจะต้องใช้ทั้งเงินใช้ทั้งเวลา ใช้ทั้งความคิด ความอ่านต่างๆ ซึ่งจะไปใช้ใครทำก็ต้องเอาให้แน่ว่าเขาเต็มใจหรืออาจเต็มใจ แต่ว่ามีภาระกิจมาก มีเวลาจะทำให้เท่าใดหรือเขาอาจทำให้ด้วยความเกรงใจเราแล้วว่าทีหลังอย่างนี้เป็นต้น ก็บอกว่าไม่เป็นไร เพราะว่าเวลาทำอะไรก็มิได้บังคับก็ขอเชิญเข้าร่วมช่วยกัน แต่ถ้าคนใดมีข้อขัดข้องหรือมีข้อสงสัยประการใดก็ไถ่ถามกันได้ ไม่ต้องเกรงใจเพราะถือว่าทำงานวิชาการ แบบนี้ไม่เคยจะคิดว่าโกรธเคืองถ้าใครทำไม่ได้ก็แล้วไป ก็ทำอย่างอื่น ทำอย่างนี้ไม่ได้ก็ต้องทำได้สักอย่าง คิดว่าโครงการนี้ขั้นตอนต่อไปอาจจะต้องดูเรื่องเหล่านี้ให้ละเอียดยิ่งขึ้น ใครทำอะไรได้และประโยชน์ อาจจะมีอีกหลายอย่างเช่น งานบางอย่าง หรืออย่างพืชนี้จะมีประโยชน์ในเชิงธุรกิจได้อีกก็มีด้วยซ้ำถ้าเราทราบสรรพคุณของเขาและนำมาใช้ในส่วนที่ว่าถ้าขยายพันธุ์แล้วไม่อันตราย คือการขยายพันธุ์เหล่านี้ก็อาจจะเป็นการช่วยในเรื่องของการส่งเสริมอาชีพให้แก่ราษฎรเพิ่มขึ้นอีกก็อาจเป็นได้ ทั้งนี้ก็ต้องไม่ละเลยในเรื่องของวิชาการสิ่งที่ถูกต้อง อะไรที่เป็นคุณ อะไรที่เป็นโทษ และยังมีเรื่องที่เกี่ยวข้องในเรื่องของงานของเงิน ในที่นี้ยังมีเรื่องเพิ่มอีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องของที่ดิน อาจจะต้องมีการกำหนดแน่นอนว่าที่ดินนั้น อยู่ในสภาพไหน สภาพการถือครองในลักษณะไหน ศึกษาในเรื่องของกฎหมายให้ถูกต้องว่าใครมีสิทธิหรือหน้าที่ทำอะไรบ้างใครทำอะไรได้ ใครทำอะไรไม่ได้เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาเป็นเรื่องที่จะต้องจุกจิกมากอีกหลายอย่าง ที่พูดนี้มิได้หมายความถึงว่าจะเป็นการจะจับผิดว่าใครทำผิดใครทำถูก แต่ว่างานในโลกปัจจุบันนี้ ทำอะไรก็รู้สึกว่าเรื่องการรักษามาตรฐานนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะว่าต่อไปงานนี้ของเราอาจจะไม่ใช่จำกัดอยู่แต่ภายในประเทศอาจจะต้องมีการติดต่อไปถึงประเทศอื่นด้วยเป็นการสร้างความเจริญให้แก่ประเทศ เพราะฉะนั้นจะต้องมีการทำงานในลักษณะที่คนอื่นยอมรับได้ นี่ก็เป็นความคิดเกี่ยวกับเรื่องโครงการนี้"

พระราโชวาท วันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๓ ในการประชุม สวนพฤกษศษสตร์โรงเรียน ณ อาคารสารนิเทศ ๕๐ ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ได้เริ่มต้นขึ้นราวปีพุทธศักราช 2535 เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สถาบันต่างๆ ที่มีหน้าที่ในการศึกษาพืชพรรณต่างๆ และ บุคคลที่สนใจได้มีโอกาสปฏิบัติงานที่ศึกษาพืชพรรณต่างๆ ที่มีอยู่จำนวนมากในประเทศไทย ได้ศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้รวบรวมเป็นหลักฐานไว้ และเพื่อเป็นสื่อในระหว่างสถาบันต่างๆ บุคคลต่างๆ ที่ทำการศึกษาให้สามารถ ร่วมใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน เพื่อให้การศึกษาไม่ซ้ำซ้อน สามารถที่จะดำเนินการ ไปก้าวหน้าเป็นประโยชน์ในทางวิชาการได้ ส่วนโครงการสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียนนั้นก็เป็นงานที่สืบเนื่องต่อจากงานอนุรักษ์พันธุกรรมพืช เพิ่งจะได้ เดินทางไปเยี่ยมดูโรงเรียนทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ได้เห็นว่าโรงเรียนบางแห่งนั้นมีภูมิทัศน์ที่ร่มรื่นมีพืชพันธุ์หลายชนิด ในวิชาเรียนของนักเรียนที่จริงตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆ ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมมัธยม ทางครูอาจารย์ ก็มักจะสอนให้นักเรียนศึกษาถึงโลกของเรา เรื่องของธรรมชาติ ฉะนั้นการที่ศึกษาของใกล้ตัว ได้แก่พืชพรรณที่มีอยู่ในธรรมชาติ นั้นก็เป็นสิ่ง ที่ง่ายไม่เสียค่าใช้จ่ายสูง และมีประโยชน์เพิ่มประสบการณ์แก่นักเรียนในด้าน ต่างๆ ได้ จึงเห็นว่างานที่คนในระดับที่เป็นผู้ใหญ่ได้ทำได้ศึกษาในพืชพรรณต่างๆ นั้นแม้แต่เด็กระดับเล็กก็น่าจะได้ประโยชน์ด้วย โรงเรียน บางแห่งก็ตั้งอยู่ในที่ ทุรกันดาร แต่ก็ยังมีพืชพรรณต่างๆ ขึ้นอยู่ ที่คนอื่นๆ นอกพื้นที่จะเข้าไปศึกษาได้ยาก ทั้งนักเรียนและผู้ปกครองก็อาจจะมีความรู้นั้น มากกว่าคนอื่นๆ นักเรียนก็อาจจะ เรียนจากผู้ปกครองของนักเรียนเป็นเรื่องของ ภูมิปัญญาท้องถิ่นว่าพืชชนิด นี้คืออะไร แล้วก็ได้ศึกษาเปรียบเทียบกับวิทยาการ สมัยใหม่ที่ครูบาอาจารย์สั่งสอน หรือมีปรากฎในหนังสือ นอกจากนั้นการศึกษา เรื่องพืชพรรณน่าจะเป็นประโยชน์ต่อ นักเรียนในแง่ต่างๆ ได้ คนที่ศึกษาเรื่องพืชนั้นก็ได้รับความสุขความสบายใจ มีความคิดในด้านสุนทรีย์ ด้านศิลปะในแง่ต่างๆ อาจจะศึกษาหรือใช้เป็น อุปกรณ์การศึกษาในหมวดวิชาต่างๆ ทั้งในเรื่อง ของวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ซึ่งครูและนักเรียน โรงเรียนได้นำมาปฏิบัติ แต่ละโรงเรียนก็มีความคิดแตกต่างกัน ไป หรือว่าบางอย่างก็เหมือนกัน บางอย่างก็แตกต่างกัน ก็เป็นเรื่องที่ดีถ้าทุก โรงเรียนสามารถที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยการมาเสนอผลงาน หรือว่านำผลงานมาบันทึกลงในสื่อต่างๆ ที่จะสามารถนำมาแลกเปลี่ยนกันได้ จึงเห็นว่าในการจัดงานในลักษณะนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการและนักเรียนในโรงเรียนอื่นๆ ที่ยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการขอแสดงความ ยินดีด้วยกับโรงเรียนที่ได้รับรางวัล และโรงเรียนที่สามารถรักษามาตรฐานของ สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเอาไว้ได้ พวกที่รักษามาตรฐานไว้ไม่ได้ก็ไม่ต้องเสียอก เสียใจไปเพราะการที่จะจัดกิจกรรมต่างๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานก็ไม่ใช่ของที่ง่าย และโรงเรียนที่อยู่ในลักษณะต่างๆ ก็อาจจะไม่สามารถที่จะปฏิบัติงานในด้านนี้ได้ อย่างเต็มที่ทุกแห่ง ก็ถ้ามีความพยายามได้ก็ขอให้พยายามต่อไป แต่ว่าถ้ามี กิจกรรมในด้านอื่นที่เร่งด่วนกว่า ทำไม่ได้ ก็ไม่ต้องเสียใจที่ไม่ได้รางวัล หวังว่า การศึกษาเท่าที่ปฏิบัติมาก็จะปฏิบัติ ต่อไปในอนาคต มีประโยชน์ในการที่จะได้ เพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการที่นักเรียน จะต้องศึกษาต่อไปในระดับสูงหรือว่าเพิ่มพูน ความรู้ต่างๆ ในด้านวิชาชีพ ซึ่งนักเรียนก็อาจจะนำไปประกอบอาชีพได้ต่อไป ยกตัวอย่างเช่น มีนักเรียนบางโรงเรียนที่ศึกษาในด้านของการเขียนภาพทาง วิทยาศาสตร์ นั่นก็จะใช้เป็นอาชีพในอนาคตเป็นต้น หวังว่าทุกคนคงได้รับ ประโยชน์ในการมาร่วมประชุมในครั้งนี้ ทั้งครู นักเรียน และผู้เกี่ยวข้องมีความ สุขสวัสดีทั่วกัน พระราโชวาท วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๔ ในการประชุมวิชาการนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : อนุรักษ์และพัฒนาด้วยจิตสำนึกแห่งนักวิจัยไทย ณ ศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย งานการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชนี้ได้ดำเนินมาเป็นเวลาหลายปีเริ่มตั้งแต่ที่เข้าใจว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหาพรรณพืชต่างๆ ที่หายากมาปลูกเอาไว้เพื่อคนรุ่นหลังจะได้เห็นได้ศึกษาต่อไป และก็มีงานด้านวิชาการต่างๆ ที่ ทำกัน ที่จริงแล้วในประเทศไทยนี้ก็มีหน่วยงานหลายหน่วยที่สนใจในเรื่องของ การอนุรักษ์พันธุ์พืชเพื่อการศึกษาพืชพรรณต่างๆ ที่มีอยู่ในประเทศโครงการนี้ มีจุดประสงค์สำคัญที่จะให้หน่วยงานต่างๆ ที่ได้ทำงานมาได้มีโอกาสแลก เปลี่ยนความคิดเห็นหรือแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน รวบรวมข้อมูล เพื่อทำ ให้วิชาการด้านนี้ก้าวหน้าไปและเป็นการประหยัดเพราะแทนที่ต่างคนต่างทำ งานไหนที่มีผู้ทำแล้วจะได้ร่วมกันทำโดยไม่ให้ซ้ำซ้อนกัน และก็ปรากฎว่ามีผู้มา สนับสนุนหลายท่านทั้งในด้านวิชาการ ด้านอุปกรณ์ต่างๆ และทุนทรัพย์ก็นับ ว่างานนี้เป็นที่สนใจของบุคคลหลายฝ่าย ในวันนี้ที่ได้มีการมอบฐานข้อมูลทาง ด้านพืชให้หน่วยงานต่างๆ นั้น ความเป็นมาก็มีอยู่ที่ก่อนนี้ในหน่วยงานต่างๆ มีหอพรรณไม้ เช่นที่กรมป่าไม้ หอพรรณไม้ของกรมป่าไม้ก็มีพืชที่นักวิชาการ นักวิจัย รุ่นเก่าๆ ได้เก็บตัวอย่างพรรณพืชแห้ง เก็บไว้เป็นเวลาเกือบจะร้อยปีแล้ว ตัวอย่างของพรรณไม้เหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่มีค่าสูง จะเป็นประโยชน์ในด้านการศึกษา แต่ว่าของต่างๆ นั้นก็ย่อมเก่าแก่ไปตามกาลเวลา จะเสียหายอย่างน่าเสียดาย ในสมัยนี้เรามีเทคโนโลยีที่จะรักษาสิ่งเหล่านี้ เพื่อให้นักวิชาการได้ศึกษากัน ได้ก็เลยได้คิด ช่วยกันทำโครงการในการถ่ายรูปและถ่ายข้อมูลพรรณไม้ เพื่อเป็นฐานข้อมูล แต่ ในเมื่อในการเก็บฐานข้อมูลนี้ถ้าเก็บไว้แห่งเดียวก็อาจจะ สูญหายได้ ก็มีความคิดกันว่าจะให้หน่วยงานต่างๆ ช่วยกันเก็บที่หนึ่งเกิดเหตุ เสียหายไปก็จะได้มีข้อมูลเอาไว้ ไม่สูญหายไปจากประเทศไทย หรือจากโลกนี้ ไปหมด ฐานข้อมูลนี้ก็เป็นของที่มีค่า ต้องช่วยกันดูแลให้ดี และผู้ที่จะมาใช้ก็ต้อง ดูแล ใช้ให้ถูกต้องให้เป็นประโยชน์แก่ประเทศไทยแก่มนุษย์ชาติต่อไป โครงการแบบนี้ไม่ใช่ว่าจะทำสำเร็จในเวลาสั้นๆ ต้องมีโครงการระยะที่หนึ่ง ระยะที่สอง และระยะต่อๆ ไป การจัดการประชุมนี้ก็เป็นการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นและ เพิ่มพูนความรู้ในระดับนักวิชาการและการจัดนิทรรศการนี้ ก็จะมีโอกาสให้ คนอื่นที่สนใจได้มาดู ได้มาศึกษาเมื่อบุคคลต่างๆ ได้มาศึกษา แล้วก็ทราบว่าพืชต่างๆ และก็ต่อไปก็ต้องการศึกษาเรื่องสัตว์สิ่งมีชีวิตและสิ่งธรรมชาติต่างๆ ของพวกนี้ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ เมื่อสนใจแล้วก็จะมีความรู้สึก อยากจะปกปักรักษา ไม่ทำลายให้เสียหายสูญสิ้นไป ก็เป็นการช่วยอนุรักษ์เป็น อย่างดี ขอให้ทุกๆ ท่านประสบความสำเร็จใน การทำงานและให้การประชุมใน ครั้งนี้ดำเนินไปด้วยดี พระราโชวาท วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๔๖ ในการประชุมวิชาการนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : ธรรมชาติแห่งชีวิต ณ สำนักพระราชวัง พระราชวังดุสิต ข้าพเจ้ายินดีและขอบคุณทุกท่านที่มาพร้อมกันในวันนี้ ดังที่ได้ทราบ แล้วว่าโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้ดำเนินมา 10 ปีแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาเห็นได้ชัดว่ามีหลายหน่วยงานที่ดำเนินงานในลักษณะ ใกล้เคียงกัน แต่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งหรือสถาบันใดสถาบันหนึ่งจะทำ ครอบคลุมให้ประสบผลสำเร็จนั้นทำได้ยาก ต้องร่วมมือร่วมใจและวางแผน ร่วมกัน ตกลงกันให้แน่นอนว่าใครจะทำส่วนใด เพื่อให้การศึกษาไม่ซ้ำซ้อน เกิดความสมบูรณ์ในการศึกษาวิจัย เกิดความก้าวหน้าและเป็นประโยชน์ทาง วิชาการ การประชุมในครั้งนี้เป็นการต่อเนื่องให้เห็นว่าโครงการแบบนี้ใช่ว่าจะ สำเร็จในเวลาสั้นๆ ที่ต้องมีโครงการในระยะที่ 1 ระยะที่ 2 โดยที่ขณะนี้อยู่ใน ระยะ 5 ปีที่สาม และจะมีระยะต่อๆ ไป การประชุมนี้เป็นการแลกเปลี่ยนความ คิดเห็น เพิ่มพูนความรู้ระดับนักวิชาการ ได้เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สถาบันต่าง ๆ แล้วก็ทราบว่าพืชต่างๆ และก็ต่อไปก็ต้องการศึกษาเรื่องสัตว์สิ่งมีชีวิตและสิ่ง ที่มีหน้าที่ในการศึกษาพืชพรรณต่างๆ และบุคคลที่สนใจได้มีโอกาสปฏิบัติงาน ที่ศึกษาพืชพรรณต่างๆ ที่มีอยู่จำนวนมากในประเทศไทย ได้ศึกษาวิธีการทาง วิทยาศาสตร์ได้รวบรวมเป็นหลักฐานไว้และเพื่อเป็นสื่อในระหว่างสถาบันต่างๆ บุคคลต่างๆ ที่ทำการศึกษาให้สามารถร่วมใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน เพื่อให้การ ศึกษา ไม่ซ้ำซ้อน สามารถที่จะดำเนินการให้ก้าวหน้าเป็นประโยชน์ในทางวิชาการได้ ทำให้ เห็นว่าโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ได้กลายเป็นศูนย์รวมของผู้มีความรู้ ความ สามารถ และเสียสละพร้อมที่จะเป็นพลังที่สำคัญของแผ่นดิน เกิดประชาคมวิจัย และวิชาการที่มีศักยภาพสูง งานของโครงการฯ ในปัจจุบันได้เกี่ยวข้องกับการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไม่เฉพาะแต่พืชเท่านั้น สิ่งไร้ชีวิตเช่น หิน ดิน แร่ และสิ่ง มีชีวิตแทบทุกประเภทก็อยู่ในเป้าหมายด้วย เช่นกัน ทั้งหมดล้วนมีผลกระทบที่สำคัญ ต่อความอยู่รอดของชาติ และประการที่สำคัญที่สุดคือการร่วมงานของผู้คนจาก หลายสถาบันที่มีทั้งธรรมชาติของการทำงาน ที่เหมือนกันและต่างกัน แต่มาทำงาน ด้วยจุดมุ่งหมายเดียวกันคือการร่วมสนองพระราชดำริ ในการเรียนรู้ทรัพยากร การใช้ประโยชน์และการสร้างจิตสำนึกของคนในชาติ ซึ่งจะนำไปสู่มรรคผลที่ยั่งยืน การปฏิบัติที่กำลังดำเนินอยู่ ในขณะนี้ เป็นการสร้างวัฒนธรรมใหม่ของการทำงาน สำหรับการประชุมวิชาการในระดับโรงเรียน ก็เป็นโอกาสให้เด็กนักเรียน ได้มานำเสนอในสิ่งที่เรียนรู้ โดยเฉพาะธรรมชาติของชีวิตของพืชพรรณต่างๆ ไม่เพียงแต่รู้จักพืชพรรณไม้การใช้ประโยชน์เท่านั้นยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ เป็นสื่อการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ โรงเรียนบางแห่งนั้นมีภูมิทัศน์ ที่ร่มรื่นมี พืชพันธุ์ หลายชนิด ในวิชาเรียนของนักเรียนที่จริงตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆ ชั้นอนุบาลถึงชั้น ประถม มัธยม ทางครูอาจารย์ก็มักจะสอนให้นักเรียนศึกษาถึงโลกของเราเรื่องของ ธรรมชาติ ฉะนั้นการที่ศึกษาของใกล้ตัวได้แก่พืชพรรณที่มีอยู่ในธรรมชาตินั้น ก็เป็นสิ่งที่ง่ายไม่เสียค่าใช้จ่ายสูง และมีประโยชน์เพิ่มประสบการณ์แก่นักเรียน ในด้านต่างๆ ได้ จึงเห็นว่างานที่คนในระดับที่เป็นผู้ใหญ่ได้ทำได้ศึกษาในพืชพรรณต่างๆ นั้น แม้แต่เด็กระดับเล็กก็น่าจะได้ ประโยชน์ด้วยโรงเรียนบางแห่งก็ตั้งอยู่ใน ที่ทุรกันดาร แต่ก็ยังมีพืชพรรณต่างๆ ขึ้นอยู่ ที่คนอื่นๆ นอกพื้นที่จะเข้าไปศึกษา ได้ยาก ทั้งนักเรียนและผู้ปกครอง ก็อาจจะมีความรู้นั้นมากกว่าคนอื่นๆ นักเรียนก็อาจจะเรียนจากผู้ปกครองของนักเรียน เป็นเรื่องของภูมิปัญญาท้องถิ่น ว่าพืชชนิดนี้คืออะไรแล้วก็ได้ศึกษาเปรียบเทียบ กับวิทยาการสมัยใหม่ที่ครูบา อาจารย์สั่งสอน หรือมีปรากฎใน หนังสือ นอกจากนั้นการศึกษาเรื่องพืชพรรณน่า จะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนในแง่ต่างๆ ได้ คนที่ศึกษาเรื่องพืชนั้นก็ได้รับความสุข ความสบายใจ มีความคิดในด้านสุนทรีย์ ด้านศิลปะในแง่ต่างๆ อาจจะศึกษาหรือ ใช้เป็นอุปกรณ์การศึกษาในหมวดวิชาต่างๆ ทั้งในเรื่องของวิทยาศาสตร์และ มนุษยศาสตร์ ซึ่งครูและนักเรียน โรงเรียนได้นำมาปฏิบัติแต่ละโรงเรียนก็มี ความคิดแตกต่างกันไปหรือว่าบางอย่างก็เหมือนกัน บางอย่างก็แตกต่างกัน ก็เป็น เรื่องที่ดีถ้าทุกโรงเรียนสามารถทีจะแลก เปลี่ยนความคิดเห็นโดยการมาเสนอ ผลงาน หรือว่านำผลงานมาบันทึกลงในสื่อต่างๆ ที่จะสามารถนำมาแลกเปลี่ยน กัน ขอแสดงความยินดีกับโรงเรียนที่ได้รับพระราชทานเกียรติบัตร และป้ายสนอง พระราชดำริสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ทั้งที่ได้รับในครั้งนี้และที่ผ่านมาแล้ว ขอให้พยายามรักษามาตรฐานต่อไป แม้ไม่ใช่เรื่องง่าย หวังว่าการปฏิบัติที่ผ่านมา ก็จะปฏิบัติต่อไปในอนาคต มีประโยชน์ในการเพิ่มพูนความรู้วิชาการที่นักเรียน ต้องศึกษาต่อไปในระดับสูง อีกทั้งเป็นการ สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณ และทรัพยากรต่างๆ นำไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน หวังว่าทุกคนคงได้รับประโยชน์ในการมาร่วมประชุมในครั้งนี้ ทั้ง คณาจารย์ นักวิจัย ครู นักเรียน และผู้เกี่ยวข้องมีความสุขสวัสดีทั่วกัน พระราโชวาท วันพุธที่ 19 ตุลาคม 2548 ในวโรกาสปิดงานประชุมวิชาการและนิทรรศการ “ทรัพยากรไทย : สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว ณ ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชคลองไผ่ ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา " ข้าพเจ้ายินดีที่ได้มาพบกับท่านทั้งหลายอีกวาระหนึ่งในวันนี้ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ดำเนินงานมาถึงปีนี้เป็นปีที่ 12 โครงการฯ ร่วมแรงร่วมใจกับหน่วยงานและสถานศึกษา หลายหน่วยงาน หลายสถาบัน ปฏิบัติงานด้านศึกษาและอนุรักษ์พันธุ์พืชต่างๆ ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และรวบรวมผลการศึกษาวิจัยไว้เป็นหลักฐาน เป็นศูนย์รวมข้อมูลทางพันธุกรรมพืชที่สถาบันการศึกษาต่างๆ และผู้สนใจสามารถเข้าร่วมใช้ฐานข้อมูลได้ ปัจจุบันงานของโครงการฯ มิได้จำกัดเพียงศึกษาอนุรักษ์พันธุ์พืชเท่านั้น แต่ขยายวงกว้างไปถึงการศึกษาเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอื่นด้วย เช่น ดิน หิน แร่ และสิ่งมีชีวิตทุกประเภท ทุกสิ่งที่กล่าวมาล้วนแต่มีความเกี่ยวพันกัน สิ่งหนึ่งสิ่งใดขาดไปก็จะกระทบต่อการดำรงอยู่ของชาติและประชาชน นอกจากศึกษาสภาวะของทรัพยากรธรรมชาติแล้ว การให้ความรู้แก่ประชาชนก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในเรื่องการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างเหมาะสม วิธีสงวนรักษา เพื่อทุกคนจะได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน อย่างยั่งยืนตลอดไป การประชุมครั้งนี้มี คณาจารย์ นักวิจัย นักเรียน นักศึกษา และเกษตรกรจำนวนมาก เข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อคิดเห็น ข้าพเจ้าหวังว่าทุกท่าน จะได้รับประโยชน์จากการประชุมโดยทั่วกัน "

ที่มา : เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี